ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ทำไมติดง่าย ป้องกันยากหรือเปล่า

  ทำไมพวกเราต้องรู้เท่าทันไวรัสโควิด เพราะเชื้อโควิดรู้จักพัฒนาตัวเอง มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น เช่น สายพันธุ์เดลตา ดังนั้นถ้าเราอยากเอาชนะโควิดสายพันธุ์ใหม่ เราต้องทำความเข้าใจโควิดให้มากขึ้น เพื่อหาทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพ #ช่วยกันยกระดับป้องกันโควิด     จากโควิด 19 สายพันธุ์แรกเริ่ม ผู้ติดเชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนที่ไม่มีภูมิต้านทาน และไม่ป้องกันตัวได้ 2.4-2.6 คน ขณะที่สายพันธุ์อัลฟาที่โจมตีประเทศไทยไปก่อนหน้านี้ การแพร่เชื้อจะอยู่ที่ 4-5 คนในเงื่อนไขเดียวกัน แต่เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาที่กำลังกลายเป็นตัวอันตรายหลักในตอนนี้ ผู้ติดเชื้อ 1 คนสามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ถึง 5-8 คน นอกจากนี้ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า โควิดสายพันธุ์เดลตาเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว   ปุ่มหนามของเชื้อโควิด (Spike Protein) สายพันธุ์ใหม่ที่เปรียบเหมือนลูกกุญแจจะมีรูปทรงที่เสียบได้พอดีกับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ (Receptor) ซึ่งเปรียบเหมือนแม่กุญแจ โควิดสายพันธุ์ใหม่จึงสามารถเกาะและเข้าสู่เซลล์ร่างกาย และไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของเราอย่างง่ายดาย   ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ เช่น สายพันธุ์เดลตา จะมีอาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา คือ ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก…